ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Post 4 "เรื่องที่ผมสนใจคือเรื่อง สงครามโลกครั้งที่ 2"


สงครามโลกครั้งที่สอง


(อังกฤษ: World War II หรือ Second World War)  เป็นความขัดแย้งในวงกว้างครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก โดยสามารถแบ่งความขัดแย้งได้เป็นสองภูมิภาค ทวีปเอเชียบ้างว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1931 บ้างก็ว่า ค.ศ. 1937 ในสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ส่วนในทวีปยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1939 จากการรุกรานโปแลนด์  และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้มากกว่า 60 ล้านคน นับเป็นสงครามที่ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมนุษย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ผู้เข้าร่วมสงครามแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายสัมพันธมิตรเดิมประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียต ส่วนฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าฝ่ายอักษะ นำโดย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นซึ่งมีการระดมกำลังทหารทั้งหมดมากกว่า 100 ล้านนาย นับเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา และเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" ซึ่งได้นำทรัพยากรต่าง ๆ ไปใช้ในการสงครามโดยไม่เลือกว่าเป็นของพลเรือนหรือทหาร สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ของชาติ เพื่อนำไปใช้ในการทำสงคราม ประมาณกันว่าสงครามโลกครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าราวหนึ่งล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าเงินในปี ค.ศ. 1944 ยังผลให้เป็นสงครามที่ใช้เงินทุนและชีวิตมากที่สุดด้วยเช่นกัน


ประเทศที่มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้
ในสงครามครั้งนี้ เป็นการสู้รบกันระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ และ ฝ่ายพันธมิตร โดยประเทศเล็กๆ ส่วนใหญ่แล้ว ประเทศจะเข้าร่วมฝ่ายตาม ประเทศเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่
ฝ่ายอักษะประกอบไปด้วยแกนนำหลัก คือ เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ในนามของกลุ่มอักษะโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว ที่มีการแถลงวัตถุประสงค์หลักในตอนต้นว่าเพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์สากล
ฝ่ายพันธมิตรประกอบไปด้วยแกนนำหลัก คือ สหราชอาณาจักร, สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญอีก 2 ประเทศคือ จีน และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศทั้ง 5 นี้ได้เข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2
สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากประเทศเยอรมนีไม่พอใจสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซี่งเป็นสนธิสัญญาที่เยอรมนีต้องลงนามเมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ถูกลดกำลังทหาร อาวุธ ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เสียดินแดน ชนวนเกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีหาเรื่องโปแลนด์ในประเด็นเรื่องการไม่เคารพสิทธิของคนเชื้อสายเยอรมันในโปแลนด์ นอกจากนี้เมื่อทางเยอรมนีขอตัดถนนข้ามจากเยอรมนีฝั่งตะวันตกเข้าไปยังปรัสเซีย (ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนฝั่งตะวันออกของเยอรมนี) โดยผ่านฉนวนโปแลนด์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส แต่อังกฤษและฝรั่งเศสไม่อนุญาต เยอรมนีจึงยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงและบุกเข้าโปแลนด์ทันที ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสได้สัญญาไว้ว่าจะช่วยเหลือทางทหาร จึงสั่งให้เยอรมนีถอนกำลังออกภายใน 14 ชั่วโมง แต่เยอรมนีปฏิเสธไม่ถอนกำลัง จึงได้ประกาศสงคราม โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่อมาจึงมี จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

ผลของสงคามโลกครั้งที่ 2
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ทวีปยุโรปไม่เหลือพลังอำนาจที่จะดำเนินตามนโยบายของตนในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกได้อีกต่อไป ดังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมาได้เปรียบฝ่ายอักษะหลังจากที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงครามแล้ว ส่วนสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ก้าวขึ้นเป็นสองประเทศมหาอำนาจใหม่ของโลกต่อมา
หลายประเทศซึ่งถูกชาติตะวันตกยึดครองเป็นอาณานิคม ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกมาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความสูญเสียทรัพยากรของชาติตะวันตก ทำให้อิทธิพลจากภายนอกอ่อนแอลง โดยการแยกตัวดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างสันติในหลายประเทศ ยกเว้นในเวียดนามซึ่งทำให้ฝรั่งเศสต้องกระโจนเข้าสู่สงครามเวียดนาม มาดากัสการ์อันนำไปสู่การจลาจลในมาดากัสการ์ อินโดนีเซียสู่การปลดแอกอินโดเนเซีย และแอลจีเรียขยายวงเป็นสงครามอัลจีเรีย ในอีกหลายพื้นที่ในโลก ทำให้เกิดเป็นประเทศใหม่ขึ้นมามากมาย ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมและศาสนา การประกาศเอกราชที่โดดเด่นมาก คือ ปาเลสไตน์ในอาณัติอังกฤษ อันนำไปสู่การก่อตั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ และในอินเดียก็เกิดการแตกออกเป็นสองประเทศ คือ อินเดียและปากีสถาน
ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองพบว่าในหลายประเทศมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น เยอรมนีตะวันตก อิตาลี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสสหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาที่มีผลผลิตทางอุตสาหกรรมคิดเป็นครึ่งหนึ่งของโลก โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกได้ฟื้นคืนกลับมาเหมือนก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1953



ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารลัทธิชาตินิยมได้ถูกปลูกฝังในใจของประชาชนชาวไทย
วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) คณะนิสิตและนักศึกษาได้เดินขบวนและเรียกร้องให้รัฐบาลเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งเสียไปหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.112จากการสนับสนุนอย่างท่วมท้นของประชาชนไทย รัฐบาลจึงได้ส่งกองทัพข้ามแม่น้ำโขงไปโจมตีประเทศลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส การรบที่เป็นที่กล่าวขานมาก คือ ยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าเข้ามาในอ่าวไทยอีก การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นผู้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการเจรจาสงบศึก และภายหลังสงครามไทย-ฝรั่งเศสสิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2484 ไทยก็ได้ดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง เหตุการณ์ครั้งนี้ ภายหลังได้ชื่อว่า “กรณีพิพาทอินโดจีน”
หลังสงคราม ได้เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะตราทัพเข้าสู่ไทยในอนาคต รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเสริมสร้างเศรษฐกิจโดยมีคำขวัญว่า "'งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" และรัฐบาลยังได้เปิดเพลงปลุกใจซึ่งถูกกระจายเสียงโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
หลังจากญี่ปุ่นได้ยอมจำนนเมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) นายควง อภัยวงศ์ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ออก "ประกาศสันติภาพ"[217] มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม แต่ทางฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับ และเรียกร้องสิทธิจากไทยในฐานะของผู้แพ้สงคราม นายควง อภัยวงศ์ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้านม.ร.ว.เสนีย์ก็สามารถเจรจากับอังกฤษและสามารถตกลงกันได้ในที่สุด








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น